แพทยศาสตร์ คณะในฝันของใครหลายๆคน

แพทยศาสตร์ ศาสตร์ที่เรียนไปเพื่อเป็นแพทย์ หรือ หมอ นั่นเอง คณะนี้เป็นวิชาชีพ ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการ ตรวจวินิจฉัยโรค การบำบัดโรค การป้องกันโรค การเยี่ยวยารักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆ เป็นแขนงอาชีพที่ต้องใช้ทักษะ และความรู้อย่างสูง

เมื่อผ่านการสอบจนได้เรียนในคณะแพทยศาสตร์แล้วนั้น เราจะต้องเจอการเรียนที่เกี่ยวกับสุขภาพและร่างกายเพราะหน้าที่ของหมอคือการรักษาคนไข้ให้หายจากอาการเจ็บป่วย

ในแต่ละมหาวิยาลัยอาจจัดหลักสูตรการเรียนการสอนต่างกันไปตามแต่ละสถาบันแต่แพทย์ทุกสถาบันจะต้องเรียนทั้งหมด6ปี โดยวิชาหลักๆก็จะมีเช่น

ช่วงแรก เรียกว่า Pre clinic จะเรียนในชั้นปีที่ 1-3

ปี 1 Basics science (วิทยาศาสตร์พื้นฐานการแพทย์) ชั้นปีนี้เรียกว่าชั้นเตรียมแพทย์ โดยที่เนื้อหาที่เรียนนั้นจะเป็นวิชาทั่วไปได้แก่ Calculus สถิติ เคมีอนินทรีย์ เคมีอินทรีย์ ชีววิทยา ภาษาอังกฤษ เช่น Experimental English , English for Medicine ซึ่งจะเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับแพทย์ ศัพท์เฉพาะทางการแพทย์ เรื่องเกี่ยวกับแพทย์ทั่วๆไป Hospital approach,ประวัติทางการแพทย์

Basic science และ Basic medical science
Basic science ก็คือเคมี ชีวะ ฟิสิกส์ เหมือนสมัยมัธยม
Basic medical science
– behavior เป็นวิชาการจัดการ จิตวิทยา การวิจัย
– anatomy กายวิภาคศาสตร์
– physiology ระบบการทำงานของร่างกาย
– pathology การเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่ทำให้เกิดโรค
– phamacology กลไกการทำงาน การออกฤทธิ์ ผลกระทบของยาแต่ละตัว

ยกตัวอย่างเช่น

รายวิชา Anatomy หรือชื่อภาษาไทยคือ กายวิภาคศาสตร์ ที่จะต้องเรียนเกี่ยวกับร่างกายของมนุษย์ทั้งหมดทั้งภายนอกและภายในโดยจะต้องใช้ร่างของคนจริงๆในการเรียนหรือที่เราจะคุ้นชินกับคำว่าอาจารย์ใหญ่คนเรียนแพทย์จะต้องได้จับ สัมผัส หรือแม้กระทั่งลงใบมีดผ่ากับร่างกายคนจริงๆ โดยจะแบ่งเป็นสามหมวดใหญ่ๆคือ

  1. Gross anatomy (มหกายวิภาคศาสตร์) เรียนเกี่ยวกับโครงสร้างของร่างกายที่มองเห็นด้วยเปล่า กล้ามเนื้อ กระดูก มีการทำแลปที่เรียกกันว่าทำแลปกรอส หรือ การผ่าร่างอาจารย์ใหญ่
  2. Embryology (วิทยาเอมบริโอ) เรียนเกี่ยวกับพัฒนาการของทารกในครรภ์มารดาตั้งแต่การปฎิสนธิไปจนกระทั่งถึงการคลอด
  3. Histology จะศึกษาโครงสร้างของเนื้อเยื่อส่วนต่างๆของร่างที่ผิดปกติ ส่วนใหญ่ในการเรียนจะได้ทำแลปคือการส่องดูเนื้อเยื่อ

Pharmacology เภสัชวิทยา เรียนเกี่ยวกับยา การใช้ยา กลไกการออกฤทธิ์ของยา ผลกระทบผลข้าเคียงของยาชนิดนั้นๆ

Biochemistry ชีวเคมี  เรียนกับกลไกการเกิดปฏิกิริยาเคมีในร่างกาย การสลายและสร้างสารต่างๆในร่างกาย ซึ่งถ้ากลไกเหล่านี้ผิดปกติไปจะเกิดโรค

 Physiology สรีรวิทยา เกี่ยวกับกลไกการทำงานของระบบต่างๆในร่างกายเช่นระบบไหลเวียนโลหิต ระบบขับถ่าย ระบบหายใจ ระบบประสาท

Neuroscience ประสาทวิทยา เป็นรายวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับระบบประสาทแบ่งเนื้อหาเป็นสองส่วนใหญ่ๆคือ

  1. Neuroanatomy ประสาทกายวิภาคศาสตร์ ศึกษาโครงสร้างของระบบประสาทได้แก่ สมอง เส้นประสาท ไขสันหลัง
  2. Neurophysiology ประสาทสรีวิทยา ศึกษาการทำงานของระบบประสาท จบความรู้ของความปกติของ

– Integument ระบบปกคลุมร่างกาย เช่น ผิว ผม เล็บ
– locomotive ระบบเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว ได้แก่กระดูก กล้ามเนื้อ
– cardiovascular ระบบหัวใจและหลอดเลือด
– respiratory การหายใจ
– gastro-intestinal ทางเดินอาหาร
– KUB ทางเดินปัสสาวะ
– reproductive การสืบพันธ์
– neurology ระบบประสาท

ก่อนจะก้าวไปในชั้นปีที่ 4  นักเรียนแพทย์ปี 3 จะต้องสอบความรู้พื้นฐาน pre clinic

ซึ่งจัดสอบโดยแพทย์สภาก่อนโดยการสอบนี้จะมีผลกับการอนุมัติใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม

(หรือใบประกอบโรคศิลป์) เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว

ช่วง Clinic จะเรียนในชั้นปีที่ 4-6

Clinical skill คือการเรียนรู้การทำงานจริง และการฝึกกับผู้ป่วยจริง

เป็นการเรียนรู้บนหอผู้ป่วยจริงๆ ได้รับเคสผู้ป่วย ซักประวัติ ตรวจร่างกาย บอกแนวทางการส่งตรวจเพิ่มเติม บอกแนวทางการรักษา และทำหัตถการเบื้องต้นได้ เช่น เย็บแผล เจาะน้ำในท้อง เจาะน้ำในปอด เป็นต้น ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่จะได้เรียนรู้และฝึกฝนในการเรียนชั้นปีที่ 4 และ 5 การเรียนใน 2 ชั้นปีนี้จะได้ขึ้นปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยหรือวอร์ด ของแต่ละภาควิชา มีตั้งแต่วอร์ดหลักได้แก่ ศัลยศาสตร์ อายุรศาสตร์

สูติ-นรีเวชศาสตร์ กุมารเวชศาสตร์ หรือจะเป็นวอร์ดย่อยเช่น จิตเวชศาสตร์ นิติเวชศาสตร์ เป็นต้น โดยจะได้ปฏิบัติงานแต่ละวอร์ด วนไปเรื่อยๆตลอดทั้งปี บางวอร์ดอาจจะอยู่ 6-10 สัปดาห์ บางวอร์ดอาจจะอยู่เพียงแค่ 1-3 สัปดาห์

เราจะเรียกนักเรียนแพทย์ปีที่ 6 นี้ว่า Extern ปีนี้ก็เป็นปีสุดท้ายของการเรียนแพทย์ ในปีนี้จะได้ทำงานเปรียบเสมือนเป็นแพทย์จริงๆได้ตรวจผู้ป่วย ให้การรักษาด้วยตนเอง และต้องทำหัตถการหลายๆอย่างได้เอง แต่จะมีอาจารย์คอยดูแลอย่างใกล้ชิด

ยกตัวอย่างคร่าวๆของรายวิชาที่จะได้เรียนในช่วงชั้น clinic

Microbiology จุลชีววิทยา การก่อโรคจากสิ่งมีชีวิตเล็กๆ เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หนอนพยาธิต่างๆ Pathology พยาธิวิทยา เป็นการศึกษาและวินิจฉัยโรคจากการตรวจอวัยวะเนื้อเยื่อเซลล์, สารคัดหลั่ง, และจากทั้งร่างกายมนุษย์

Medical genetics พันธุศาสตร์การแพทย์ ศึกษาเกี่ยวกับพันธุศาสตร์ที่เกี่ยวกับกลไกการเกิด วิชาในปี 3 นี้ก็จะมีบางวิชาต้องไปเรียนในตัวโรงพยาบาลเช่น พยาธิวิทยา เป็นต้น และปี 3 เทอม 2 จะได้เรียนวิชาอาการวิทยา หรือการตรวจร่างกายเบื้องต้น

เอาล่ะครับของจบส่วนของPreclinic เพียงเท่านี้นะครับ แล้วเตรียมพบกับชั้น Clinic ต่อไป

– OB-gyne สูติ-นรีเวช
– surgery การผ่าตัด
– internal medicine การรักษาโดยการใช้ยา
– pediatric เด็ก
– orthopedics กระดูกและข้อ
– ophthalmology ตา
– ENT หู คอ จมูก
– Emergency ฉุกเฉิน
– Anesthesiology วิสัญญณีวิทยา การดมยาสลบ
– commed-fammed การดูแลแบบองค์รวม การทำวิจัย
– psychiatric จิตเวช
– rehabilitation กายภาพบำบัด

แม้จะเรียนจบทั้ง 6 ปีแล้ว บัณฑิตแพทย์จบใหม่ก็ยังเป็นแค่แพทย์ทั่วไป คือสามารถตรวจรักษาโรคทั่วไปได้ แต่จะยังไม่มีความชำนาญในสาขาใด เป็นพิเศษ แพทย์ส่วนมากต้อง ผ่านการ “ใช้ทุน” เป็นระยะ เวลา 3 ปีก่อน จึงจะสามารถ กลับเข้ามาเรียนต่อในสาขาเฉพาะทางที่ตัวเองสนใจได้ ซึ่งกว่าจะจบจะต้องผ่านการเรียนต่อที่เรียกว่าการเรียน “แพทย์ประจำบ้าน” (Resident) และถ้าจะศึกษาในสาขาเฉพาะต่อไปอีกก็จะต้อง เรียนต่อ เรียกว่าเรียนเป็น “แพทย์ประจำบ้าน ต่อยอด” (Fellowship) อีก 1-2 ปี จึงอาจกล่าวได้ว่ากว่าจะเรียนจบเป็นแพทย์เฉพาะทาง ต้องใช้เวลาเรียนกันเป็น 10 ปี

รายวิชาที่ยกตัวอย่างมานี้อาจจะเรียนต่างชั้นปีกันออกไป ตามที่มหาวิยาลัยจะกำหนด

มาดูเส้นทางกว่าจะได้เป็นแพทย์กันเถอะ ว่าต้องเริ่มจากจุดไหนบ้าง

ก่อนอื่นคนที่จะเรียนแพทย์ได้นั้นจะต้องจบแผนวิทย์-คณิต ในการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมาก่อนพูดง่ายๆยคือต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์นั่นเอง เมื่อจบระดับมัธยมศึกษาแล้วก็ต้องสอบเพื่อจะเข้าศึกษาต่อในคณะแพทย์ให้ได้โดยจะต้องสอบตามเกณฑ์ที่แต่ละมหาวิทยาลัยกำหนดซึ่งจะกำหนดต่างกันออกไป

โดยแพทย์จะต้องเรียนเกี่ยวกับร่างกายทั้งหมดเช่นระบบในร่างกาย ความผิดปรกติของร่างกาย พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ

 

ทำอย่างไรจึงจะได้เรียนหมอ

1 รับตรง คือ โควตาที่แต่ละมหาวิทยาลัยจัดสอบตามพื้นที่นั้นๆโดย ข้อสอบจะเป็นของมหาวิทยาลัยทำการออกเอง การเลือกในระบบรับตรงจะเลือกได้สูงสุด 2 คณะ

2 กสพท. [กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย] คะแนนที่ใช้ก็แบ่งออกเป็น สัดส่วน 70 : 30 คือ

วิชาเฉพาะแพทย์ 30%
7 วิชาสามัญ       70 %  แบ่งออกเป็น 7 วิชาดังนี้

วิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ40%    ( 28%)
คณิตศาสตร์                         20%     ( 14%)
อังกฤษ                                20%     ( 14%)
ไทย                                    10%     ( 7%)
สังคม                                  10%     (7%)
รวม                                    100%    (70%)

ถึงแม้ว่าจะใช้คะแนนวิชาเฉพาะแพทย์ และ 7 วิชาสามัญ แต่จะต้องสอบO-NET ที่ 5 กลุ่มวิชา (คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และ สังคม) จะต้องมีคะแนนรวม (เฉลี่ยจากทั้งห้าวิชา) ไม่น้อยกว่า 60% ด้วยและจะต้องทำ

คะแนนสอบ “วิชาสามัญ” คะแนนสอบจะต้องเกิน 30% ในแต่ละรายวิชา

3 แอดมิชชั่น โดย จะใช้คะแนน GAT-PATเพื่อใช้เป็นองค์ประกอบคะแนนในการคัดเลือกในระบบแอดมิชชั่น

รูปแบบที่ 1 GAT + PAT2

รูปแบบที่ 2 GAT + PAT1 + PAT2

(GAT = ความถนัดทั่วไป,PAT1 = ความถนัดทางคณิตศาสตร์,PAT2 = ความถนัดทางวิทยาศาสตร์)

สัดส่วนในการใช้ GAT-PAT ของคณะ แพทยศาสตร์ คือ

GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 20% และ PAT 2 30%

 

อาชีพหลังจากเรียนจบ

แน่นอนว่าจบแพทย์ก็ต้องได้เป็นแพทย์ แต่ก็จะมีแพทย์แยกออกไปตามแต่ละสาขา

เรียกว่าแพทย์เฉพาะทาง โดยจะต้องผ่านการอบรมมาก่อนเมื่อผ่านการอบรมมาแล้วก็สามารถจะเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนั้นๆได้

ยกตัวอย่างเช่น จักษุแพทย์ การวินิจฉัยความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับดวงตา สายตา และมีหน้าที่ในการรักษาไม่ว่าจะวิธีใช้อุปกรณ์เสริม หรือการผ่าตัด เพื่อให้ดวงตาของผู้ป่วยสมบูรณ์  จิตแพทย์ บำบัดความผิดปกติที่เกิดขึ้นทางจิตของผู้ป่วย ซึ่งจิตแพทย์สามารถรักษาได้ทั้งวิธีการให้ยา ผ่าตัด ไปจนถึงการช็อตด้วยไฟฟ้า สูตินารีแพทย์ ดูแลสตรีโดยเฉพาะ ที่รวมไปถึงการคลอดบุตรด้วย ศัลยแพทย์ ผ่าตัด เย็บแผล รวมไปถึงงานหัตถการอื่นๆ

อายุรแพทย์ ดูแลรักษาด้วย”ยา” ศึกษาโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ เป็นต้น

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางคือใคร

หลังจากใช้ทุน 3 ปี แพทย์ส่วนใหญ่จะไปเรียนต่อเป็น แพทย์เฉพาะทาง หรือเรียกว่า ไปต่อบอร์ด(Board)

เนื่องจากความต้องการด้านการแพทย์ความงามได้ขยายตัวไปอย่างรวดเร็ว ทำให้แพทย์ที่จบใหม่ ต่างมุ่งหวังเข้ามาสู่ตลาดแห่งนี้ แต่เดิมนั้นแพทย์ที่ต้องการเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาใด ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมตกแต่ง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านตา หู คอ จมูก ต่างต้องสมัครเข้ารับการฝึกอบรมจากโรงเรียนแพทย์หลังจากที่จบแพทย์ศาสตร์บัณฑิตแล้ว และส่วนใหญ่ต้องผ่านการทำงานในโรงพยาบาลของรัฐแล้วอย่างน้อย 3 ปี ซึ่งในช่วง 3 ปีนี้แพทย์ทุกท่านจะได้รับประสบการณ์การรักษาผู้ป่วยทั่วไปมาเป็นอย่างดี

ในช่วงการฝึกอบรมเพื่อเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางไม่ว่าจะเป็นสาขาใด แพทย์ทุกท่านจะถูกอาจารย์แพทย์ทั้งอบทั้งรม บ่มเพาะจนได้ที่ เป็นเวลาอย่างน้อย 3-5 ปี เพื่อที่จะผ่านด่านการสอบเพื่อ “ใบวุฒิบัตรของการเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา (Board certified) “ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางทั้งหลายได้เรียนลงในแนวลึก เห็นทั้งข้อดีข้อเสีย และที่สำคัญอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้
ระหว่างเรียนเราเรียกแพทย์ นักเรียนนี้ว่า แพทย์ประจำบ้าน หรือ Resident

เมื่อเรียนจบต้องมีการสอบว่าผ่านการประเมินหรือไม่ เรียกง่าย ๆ ว่า สอบบอร์ด

ถ้าสอบผ่าน ก็จะได้เป็นแพทย์เฉพาะทาง หรือ specialist ของสาขานั้น ๆ

การจบเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางได้ ก.พ.จะเทียบขั้นและให้เงินเดือนเท่ากับวุฒิปริญญาเอก

แต่เนื่องจากในปัจจุบัน วิชาแพทย์ได้พัฒนามากขึ้น ความรู้มากขึ้น

การเป็นผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาหรือแต่ละเฉพาะทาง ก็จะต้องการความรู้และความเชี่ยวชาญกันมากขึ้นไปอีก

ก็ต้องเรียนเพิ่มไปอีก 1-5 ปีแล้วแต่ละสาขา

เราเรียนการเรียนนี้ว่า subspecialty ตัวแพทย์ก็เรียกว่า subspecialist หรือ subboard การเรียนเพื่อเป็น subspecialist นั้น มีการเรียนหลายแบบ

ส่วนใหญ่ จะต้องเรียนจบได้เป็น specialty ก่อน

ตัวอย่างเช่น ถ้า specialty เป็นอายุรกรรม

subspecialty ก็มีตั้งแต่ อายุรกรรมโรคหัวใจ โรคปอด ไตและทางเดินปัสสาวะ ผิวหนัง โรคติดเชื้อ ด้านสมอง โรคต่อมไร้ท่อ เป็นต้น

แต่ในบางครั้ง subspecialist จะเป็นแบบเรียนรวมไปทีเดียว

อาทิ จะเป็น subspecialist ด้านโรคผิวหนัง ก็จะเรียนอายุรกรรม 1-2 ปีแล้วต่อด้วยด้านผิวหนังต่อ อีก 3 ปีไปในครั้งเดียวเป็นต้น
การเรียนเป็นแพทย์เฉพาะทางในสาขาขาดแคลนบางสาขา สามารถเรียนต่อได้ทันทีเมื่อจบแพทย์ทั่วไป 6 ปีแล้ว

หรือ ไปเป็นแพทย์ใช้ทุนในโรงเรียนแพทย์ ซึ่งจะได้สิทธิในการสอบบอร์ดเป็นแพทย์เฉพาะทางได้เร็วกว่าปกติ

เพราะจะนับเวลาการใช้ทุนไปเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนด้วย
หรือ การเรียนเป็นแพทย์ subspecialist บางอย่างที่ไม่ได้ต้องการประกาศนียบัตรหรือไม่ได้มีหลักสูตรที่เคร่งครัดเหมือนกับหลักสูตรปกติ

ก็สามารถมาเรียน เพิ่มประสบการณ์ เป็น แพทย์ปฎิบัติการ (Fellowship) ได้
การเรียนแบบอื่น ๆ ก็มี เช่น เป็นหลักสูตรปริญญาโท หลังจากเรียนจบแพทย์ทั่วไป

 

จบแพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนังมา 10ปี ทำงานราชการได้เงินเดือนเพียง 25,000 บาท

บางคนได้เงินเพิ่มค่าไม่ทำคลินิคอีกเดือนละ 10,000 บาท และค่าวิชาชีพประมาณ 10,000 บาท

รวมแล้ว ชีวิตของแพทย์ subspecialty วัยกลางคน ตอนนี้ได้เงินเดือน 45,000 บาท

มีแพทย์บางคนจบสาขาเดียวกันแต่ทำเอกชนหรือบางคนเป็นแพทย์ทั่วไปแต่เปิดคลินิกผิวหนังได้เงินจำนวนเดียวกันนี้ได้ในเวลา 1-5 วันเท่านั้น

คณะศิลปศาสตร์ ( “ Liberal Arts ”)

 

เรียนอะไรกันบ้างนะคณะนี้

ศิลปศาสตร์เป็นภาควิชาที่รวมเอาศาสตร์และศิลป์แห่งภาษามาอยู่ด้วยกันโดยแยกออกเป็นสาขาวิชาต่างๆมากมายซึ่งยังมีคนจำนวนหนึ่งเข้าใจผิดว่าคณะนี้เป็นคณะที่ว่าด้วยวิชาศิลปะประเภทวาดรูป หรือที่ต้องใช้ทักษะด้านศิลปะในภาคปฎิบัติ ซึ่งที่จริงแล้ว  ศิลปศาสตร์ เป็นเรื่องของการศึกษาเพื่อเข้าใจในมนุษย์และสังคม  ซึ่งจะเป็นกุญแจนำเราไปสู่การเปิดประตูอีกหลายๆบาน อทิ  ความรอบรู้ทันโลก  การตระหนักรู้คุณค่าของศิลปวัฒนธรรมทั้งของชาติเราเองและของชนชาติอื่นๆ   การใช้ภาษาอย่างมีทักษะสูงในสถานการณ์ต่างๆยังทำให้สามารถวิเคราะห์วิจารณ์ในเชิงสร้างสรรค์ได้อย่างดี  และความรู้ในภาษาอื่นยังนำมาสู่การเปิดกกว้างทางความรู้เมื่อเราสามารถแปลวรรณกรรม/ประวัติศาสตร์จากภาษาอื่นๆได้  ดังนั้นถ้าคุณสมบัติในตัวมีความสนใจใฝ่รู้ค่อนข้างสูง  ไม่เบื่อง่ายในการค้นคว้า การอ่าน  มีความถนัดในเชิงภาษา  สนใจโลกกว้างและผู้คน  ประมาณนี้คุณก็มาถูกทางแล้วล่ะ

 

คณะศิลปศาสตร์นั้นต้องเรียนวิชาอะไรกันบ้างก็ขึ้นอยู่กับสาขาวิชาที่เลือกเรียน  ในแต่ละมหาวิทย่าลัยจะมีสาขาที่เหมือนกันเป็นส่วนใหญ่  จะมีบางแห่งที่มีภาควิชาพิเศษไม่กี่วิชาที่ต่างกัน  ดังนี้

สาขาวิชาจิตวิทยา

สาขาปรัชญาและศาสนา

สาขาวิชาภูมิศาสตร์

สาขาวิชาประวัติศาสตร์

สาขาสารสนเทศศึกษา

สาขาภาษาไทย

สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์

สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีอังกฤษ

สาขาภาษาอังกฤษ

สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารธุรกิจ

สาขาวิชาภาษาศาสตร์    สาขาวิชาภาษาต่างประเทศ  (แตกต่างกันไปในแต่ละมหาวิทยาลัย)

– สาขาภาษาฝรั่งเศส

– สาขาภาษาจีน

– สาขาวิชาภาษาเยอรมัน

– สาขาวิชาภาษาจีน

– สาขาวิชาภาษารัสเซีย

การเรียนในคณะนี้  วิชาบังคับหรือวิชาทั่วไปก็จะมี   การใช้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษพื้นฐาน หมวดวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มนุษยศาสตร์  หมวดสังคมศาสตร์  ที่นาสสนุกก็มีวิชา อารายธรรมตะวันตก -ตะวันออก  ปรัชญา  การฟัง-การพูด  สำหรับผู้เลือกเรียนภาษาอังกฤษก็ต้องเรียน English 1 และ English 2 ในปีแรก แน่นอนว่าจะมีเรียน Reading และ Listeningด้วย และเรียนGrammar ขั้น Advanced    ได้เรียนการแปลทั้งพูด และเขียน แต่ถ้าเลือกเอกแล้วก็ต้องเรียนวิชาภาคบังคับตามโครงสร้างสาขาวิชาที่เลือกเรียน  เช่น วิชาประวัติศาสตร์ก็ต้องเลือกไปเลยว่าจะเรียนสายยุโรป หรือเลือกเรียนเอเชียฝั่งไหน เป็นต้น

ต้องสอบอะไรบ้าง ทั้งภาคไทยและอินเตอร์

การเตรียมตัวสอบต้องเตรียมฐานให้แน่นๆ  ความรู้ทั่วไปในกระแสสังคมโลก การอ่านและเขียนอย่างมีวิจารณญาน ติวแกทเชื่อมโยงเตรียมไว้เยอะหน่อยก็ดี   ภาษาอังกฤษอย่าลืมอัพเดทศัพท์ synonym เอาไว้ให้มากๆเช่นกัน

การสอบเข้าแบบตรง  มีสัดส่วนวิชาดังนี้

วิชาภาษาไทย 25% วิชาสังคม 25% แล้วก็ภาษาอังกฤษ 50%

ส่วนadmission ใช้ GAT   50%   GPAX 6 เทอม   20%  โอเน็ตภาษาอังกฤษ 75 คะแนนขึ้นไปเท่านั้น   หรือ GPAX 20% ,O-NET 30% ,GAT 30% ,PAT 4/6 40%

ภาษาอังกฤษเตรียมติวเข้มทั้ง conversation , reading หาข้อสอบเก่ามาลองทำ ติวgrammarมากๆ  CU-TEP TU-GET  ตามมารตรฐาน

 

หลักสูตรอินเตอร์

หลักสูตรนานาชาติต้องใช้คะแนนภาาาอังกฤษสูงๆ     IELTS ( Academic ) 6.0 ขึ้นไป หรือ

II   TOEFL :  IBT = 61    หรือ ผลการสอบ GED ได้คะแนนรวม 2,250 คะแนนขึ้นไป หรือ มีผลคะแนน IB  มีสอบผ่าน  5 วิชาขั้นต่ำ  อย่างใดอย่างหนึ่ง

หลักสูตรอินเตอร์มีการสอบเขียนเรียงความ (  Academic Writing )และสอบสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษด้วย

จบศิลปศาสตร์แล้วประกอบอาชีพใดได้บ้าง

 

ชาวศิลปศาสตร์สมัยก่อนมักเป็นอาจารย์กันเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ในทษวรรษนี้ชาวศิลปศาสตร์สามารถเลือกประกอบอาชีพหด้ค่อนข้างหลากหลายในสายงานทั้งภาครัฐ วิสาหกิจ และเอกชน

อาชีพที่มีให้เลือกสรรมีมากมายคือ    เจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างประเทศ นักแปล ล่าม นักประชาสัมพันธ์ นักจิตวิทยาหรือนักพฤติกรรมศาสตร์  อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา  บรรณาธิการ  web content  นักวิเคราะห์ระบบ นักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี    นักสังคมวิทยา  นักวรรณคดี  นักเขียนวรรณกรรม  นักเขียนบทละคร  นักผลิต/ทำละครเวที  บรรณารักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประชาสัมพันธ์   ผู้เชี่ยวชาญด้านประชาสัมพันธ์   ผู้เชี่ยวชาญทรัพยากรมนุษย์  บริหารงานบุคคล  มัคคุเทศก์  นักวิชาการ ผู้จัดการ/บริหารการท่องเที่ยว  เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดเลี้ยง ฝ่ายต้อนรับ ฝ่ายกิจกรรมสันทนาการ เจ้าหน้าที่สายการบินต่างๆ   เจ้าหน้าที่ประสานงานธุรกิจระหว่างประเทศ  เจ้าหน้าที่สถานฑูต

คณะนิเทศศาสตร์ ( “Communication Arts ”)

 

เรียนอะไรกันบ้างนะคณะนี้

ก่อนจะเลือกเรียนคณะใดนั้นก็คล้ายๆกับว่าเรากำลังจะหมั้นหมายกับใครสักคน ดังนั้นแน่นอนว่านอกจากชอบเขาหรือเธอแล้วยังไม่พอ  เราจำต้องเข้าใจถึงตัวตนของคนๆนั้นด้วยเขาเป็นคนเช่นใด มีลักษณะเฉพาะอย่างไร และแม้แต่ชื่อเสียยงเรียงนามขอิงเขามีความหมายอย่างไรก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรข้ามผ่านรายละเอียดข้อนี้ไป

คำว่า ‘นิเทศ ‘ แปลว่า คำแสดง ชี้แจง,คำจำแนก,นำเสนอ

นิเทศศาสตร์  จึงเป็นศาสตร์และศิลป์แห่งองก์ความรู้ที่ว่าด้วยการแสดงการสื่อสารทั้งหมดทั้งมวลที่ครอบคลุมในทุกสื่อ  มิใช่เน้นไปที่การข่าวหรือการประชาสัมพันธ์แต่เพียงอย่างเดียวดังเช่นในสาขาวารสารศาสตร์เวอร์ชั่นดั้งเดิม

ดังนั้นผู้ที่หมายปองคณะนิเทศศาสตจึงควรมีบุคลิกที่ไปกันได้ดีกับคณะที่ตนเลือก  นั่นหมายถึงการมีบุคลิกที่ฉายแววนักสร้างสรรค์ที่มีไอเดียบรรเจิดในการนำเสนอ ไม่ว่าจะไปอยู่ในพื้นที่ของการสื่อสารลักษณะใดก็ตาม  มีความกล้าคิด กล้าแสดงออกซึ่งภาษาทางความคิด ภาษาทางกาย หรือภาษาในการเขียน การพูด  ยกตัวอย่างง่ายๆ อทิ copywriter หรือคนคิดคำโฆษณาเด่นๆที่เป็นวรรคฮิตติดหูคนหมู่มาก “จน เครียด กินเหล้า” ” สีทนได้” “กินไม่ได้ แต่ เท่” เหล่านี้ล้วนเป็นผลงานที่มาจากนิเทศศาสตร์ทั้งสิ้น

คณะนิเทศศาสตร์มีการเรียนที่ความสำคัญของการสื่อสารเป็นหลัก  ทั้งการสื่อสารและการผลิตสื่อที่ต้องมีเป้าหมายอยู่ที่การสื่อสารให้ได้สำเร็จอย่างมีศิลปะและสัมฤทธิ์ผลด้วย  นั่นหมายถึงว่า  ถ้าคุณสร้างสรรค์สื่อตัวหนึ่งได้อาร์ทมากๆเต็มไปด้วยไอเดียแหวกแนวแต่กลุ่มเป้าหมาย หรือผู้รับสารไม่เข้าใจและไร้ซึ่งการตอบรับ นั่นก็ย่อมหมายถึงว่าสารที่คุณสื่อออกไปนั้นไม่ประสบความสำเร็จได้เช่นกัน  นอกจากนี้ยังต้องอาศัยองค์ประกอบร่วมอีกมากมาย เป็นตต้นว่า  ความรับผิดชอบต่อสังคม  การให้แรงบันดาลใจ หรือการส่งต่อวัฒนธรรมเดิมสู่คนรุ่นใหม่หรือ กระทั่งการมีบทบาทสร้างแรงกระเพื่อนใหม่ๆสู่สังคมอีกทางหนึ่งด้วย

ทีนี้ก่อนเราจะมาดูว่าการจะเป็นนักนิเทศศาสตร์นั้นต้องเรียนวิชาอะไรกันบ้างล่ะ  เราก็มาดูในภาพรวมก่อนว่าคณะนิเทศศาสตร์นั้น ( แม้ต่่างกันในชื่อของสาขาวิชาแต่ก็ถือว่าอยู่ในกลุ่มวิชาเดียวกัน )แบ่งแยกย่อยออกเป็นสาขาเฉพาะทางเช่นใดบ้าง

 

สาขาวิชาหนังสือพิมพ์และสิ่งพิมพ์

สาขาวิชาวิทยุและโทรทัศน์

สาขาวิชาประชาสัมพันธ์

สาขาวิชาสื่อสารมวลชน

สาขาวิชาโฆษณา

สาขาวิชาภาพยนตร์และภาพถ่าย

สาขาวิชาสื่อสารการแสดง

สาขาวิชาวารสารสนเทศ

สาขาวิชาสื่อสารการตลาด

 

ต้องสอบอะไรบ้าง ทั้งภาคไทยและอินเตอร์

เมื่อเลือกคู่หมายได้แล้วก็มาเตรียมตัวพิชิตใจเป้าหมายกันเถอะ   การเตียมตัวสำหรับสอบเข้านิเทศศาสตร์นั้น ต้องการความแม่นยำในวิชาเฉพาะทางมากกว่าความรู้ทั่วไป แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะการสอบเข้าว่าเป็นลักษณะใดด้วย

การสอบเข้าศึกษาโดยวิธีการ Admission  สามารถ ใช้คะแนน GAT 50%  หรือ คะแนน GAT 40% และ PAT 1 (คณิตศาสตร์) หรือ PAT 7 (ภาษาต่างประเทศ) 10%

GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 30% และ PAT 7 20%การสอบตรงของแต่ละมหาวิทยาลัยมักมีข้อปลีกย่อยต่างกันไปในแต่ละปี  แต่ส่วนใหญ่ก็เป็นวิชาพื้นฐานที่เราต้องเตรียมตัวสอบในรายวิชาสามัญทั่วไป เช่น วิชา ภาษาไทย สังคมศึกษา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ

 

สัดส่วนคะแนนของคณะนี้อยู่ที่ GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 30% และ PAT 7 20%

ความรู้ทั่วไป

ต้องเตรียมตัวเก็บเกี่ยวข้อมูลข่าวเด่นๆดังๆไว้ให้มาก เพื่อยืนยันการเป็นนักสื่อสารที่อัพเดทข้อมูลอย่างกว้างขวาง

 

ความรู้เฉพาะทาง

ถ้าเลือกสายข่าว  ก็จำเป็นต้องเขียนข่าวเป็น  ถ้าเลือกสายสื่อโฆษณาก็ต้องออกแบบกราฟิคได้น่าสนใจ เป็นต้น

 

ภาษาอังกฤษ

วัดทักษะความรู้ทางภาษาอังกฤษ เช่น  Conversation, Passage Reading โดยจะมีมาตรฐานข้อสอบแบบเดียวกับข้อสอบ CU – TEP

 

หลักสูตรอินเตอร์

ปัจจุบันหลักสูตรนานาชาติมีที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  เกรดเฉลี่ยต้องสูงกว่า 2.50 และต้องมีคะแนนในผลสอบต่างๆดังนี้

มี 500 ขึ้นไปอย่างน้อย 5 วิชาหากใช้ผลสอบ GED แต่ถ้าใช้ผลสอบ GCE,IGSCE,GSCE ต้องมี 5วิชาที่ได้คะแนน C เป็นอย่างน้อย

TU -GAT 500 คะแนนขึ้นไป

IELTS (academic) 5.5 ขึ้นไป

หลักสูตรอินเตอร์มีการสอบเขียนเรียงความ (  Academic Writing )และสอบสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษด้วย  การเตรียมติวเข้มแกรมม่า ศัทพ์และ idiomจึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉาพะvocab ยังช่วนในการสอบ Reading ได้เป็นอย่างดี

 

จบนิเทศศาสตร์แล้วประกอบอาชีพใดได้บ้าง

 

นักนิเทศศาสตร์มีพื้นที่การทำงานมากมายหลากหลายตำแหน่งหน้าที่  และคุณรู้ไหมว่า  อาชีพของผู้ที่เรียนจบคณะนิเทศศาสตร์นั้นติดกลุ่ม 1ใน10 อาชีพที่มีรายได้สูงมากในต่างประเทศอีกด้วย

อาชีพของชาวนิเทศฯคือ   นักข่าว  บรรณาธิการข่าว   บรรณาธิการนิตยสาร  บรรณาธิการหนังสือพิมพ์  บรรณาธิการสำนักพิมพ์ คอลัมนิสต์  นักเขียน  นักเขียนบทภาพยนตร์ /บทละคร นักเขียนบทสารคดี นักแสดง  พิธีกร  ดีเจ ผู้ประกาศข่าว   ครีเอทีฟโฆษณา  ก๊อปปี้ไร้ท์เตอร์  ผู้กำกับภาพยนตร์  ผู้กำกับศิลป์  ผู้ช่วยผู้กากับ นักวิจารณ์ภาพยนตร์กราฟฟิกดีไซน์  ฝ่ายตัดต่อ  ฝ่ายวางแผนสื่อโฆษณา ช่างภาพ   โปรดิวเวอร์รายการทีวี /วิทยุ  ผู้บริหารสื่อ    ผู้บริหารฝ่ายโฆษณา  ผู้ผลิตรายการ ผู้ดูแลการผลิต ผู้วางผังรายการ  นักประชาสัมพันธ์/ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์

เรียนคณะพาณิชยศาสตร์ และการบัญชี ต้องเรียนอะไรบ้าง

 

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี เมื่อพูดถึงคณะนี้หลายคนก็คงทราบกันดี ว่ามีแค่ที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่เปิดสอนหลักสูตรนี้ แล้วทำไมสถาบันอื่นถึงไม่เปิดสอน วันนี้เราจะมาแนะนำเกี่ยวกับคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีให้ได้รู้จักกันนะคะ

พาณิชยศาสตร์และการบัญชี ความจริงแล้ว หลักสูตรนี้มีเปิดสอนอยู่หลายสถาบันค่ะ แต่ละสถาบันจะใช้ชื่อไม่เหมือนกันเท่านั้นเอง เช่นบางที่อาจใช้ชื่อว่า คณะวิทยาการการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ คณะบัญชี เป็นต้น

ซึ่งการเรียนการสอนในคณะนี้จะแบ่งออกเป็น บัญชี บริหาร บัญชีจะเรียนเกี่ยวกับ บัญชีต้นทุน บัญชีบริหาร บัญชีการเงินบัญชีภาษีอาการ และการสอบบัญชีเป็นต้น ส่วนบริหารนั้นจะเรียนเกี่ยวกับ การตลาด การเงิน  การจัดการผลผลิตทรัพยาการบุคคล โลจิสติกส์ สารสนเทศเป็นต้น

    หากอยากเรียนคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีต้องสอบอะไรบ้าง

ในสมัยนี้การสอบแข่งขันด้านการเรียนถือเป็นสิ่งสำคัญซึ่งคะแนนที่ใช้จะสะสมมาตั้งแต่เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่4 เพราะคะแนน G-PAX รวมนั้นสำคัญมาก ส่วนใหญ่มหาวิทยาลัยจะเปิดรับตรงก่อนการแอดมิชชั่น เพื่อให้โอกาสเราได้เลือกที่เรียนโดยคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีจะเน้นทางด้านความรู้ความสามารถในวิชาคณิตศาสตร์และวิชาภาษาอังกฤษ ซึ่งหากใครอยากเรียนคณะนี้ ต้องมี

คะแนน G-PAX รวมกัน 5 เทอมไม่น้อยกว่า 3.00

การเปิดรับตรงภาคปกติแต่ละที่จะใช้เกณฑ์การรับสมัครไม่เหมือนกัน เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะต้องสอบ Smart-I แล้วนำคะแนนที่ได้มาแปลงเพื่อใช้เป็นคะแนนยื่นในโครงการรับตรง โดยคะแนนการสอบ Smart-I แต่ละตัวจะต้องได้ไม่น้อยกว่า 30 คะแนน และคะแนนรวมจะต้องได้ไม่น้อยกว่า 50 คะแนน

การสอบ Smart-I จะทดสอบความสามารถทั้งหมด 4 ด้านคือ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ การอ่าน และทางด้านความรู้รอบตัว

ส่วนภาคอินเตอร์จะหนักไปทางภาษาอังกฤษ เช่น ถ้าจะเรียนคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีภาคอินเตอร์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะต้องใช้คะแนนสอบวัดความสามารถด้านภาษาอังกฤษด้วย

นั่นคือการสอบ SAT และ CU-AAT ซึ่งค่อนข้างยากและต้องใช้ความรู้ด้านภาษามากเลยทีเดียว

แต่ถ้าหากใครอยากจะแอดมิชชั่นคณะนี้ นอกจากจะต้องสอบ GAT แล้ว จะต้องสอบ PAT 1 วัดความรู้ความสามารถด้านคณิตศาสตร์ โดยในการส่ง

แอดมิชชั่นในคณะพาณิชยศาสตร์การบัญชีจะต้องใช้คะแนนประมาณนี้

  • คะแนน GAT ใช้ 20%
  • คะแนน O-NET ใช้ 30 %
  • คะแนน PAT 1 ใช้ 20 %
  • คะแนน GPAX ใช้ 20%

( ข้อมูลการใช้คะแนนอาจมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละปี ควรยึดเกณฑ์คะแนนตามปีนั้นๆนะคะ )

ข้อมูลข้างต้นที่กล่าวมาเป็นเพียงหลักเกณฑืทั่วไปที่ใช้นะคะ ซึ่งบางมหาวิทยาลัย

อาจจะใช้คะแนน PAT ตัวอื่นๆด้วย ซึ่งหากใครอยากเรียนคณะนี้จะต้องเตรียมความพร้อมตั้งแต่เนิ่นๆ ศึกษาข้อมูลให้ถ้วนถี่ จะได้ไม่พลาดโอกาสทำตามความฝันนะคะ

คณะพาณิชยศาสตร์การบัญชีจะแบ่งหลักสูตรออกเป็น

     1.หลักสูตรบัญชีบัณฑิต หลักสูตรบัญชีนี้จะมีด้วยกัน 3 สาขาวิชา ได้แก่

-สาขาวิชาการบัญชี เรียนสาขานี้จะเรียนเน้นเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีการบัญชีเป็นหลัก เรียนเกี่ยวกับการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้กับงานบัญชีต่างๆและเรียนเกี่ยวกับการสอบบัญชี

-สาขาวิชาการต้นทุน เรียนสาขานี้จะเรียนเน้นเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีการบัญชีเช่นกัน แต่จะเรียนรวมทั้งระบบวิธีการบัญชีต้นทุน และการวิเคราะห์การทำบัญชีและการจัดระบบข้อมูลทางบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์

-สาขาวิชาระบบสารสนเทศทางการบัญชี เรียนสาขานี้จะเรียนเน้นเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีการบัญชี และเรียนเกี่ยวกับการออกแบบการทำบัญชี วิเคราะห์ และการจัดทำข้อมูลทางบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์

       2.หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต หลักสูตรนี้จะมีด้วยกัน 8 สาขาวิชา ได้แก่

-สาขาวิชาการธนาคารและการเงิน เรียนสาขานี้จะเรียนเน้นเกี่ยวกับการบริหารการเงินของธุรกิจทั้งภาครัฐและเอกชน สถาบันการเงิน และองค์กรการรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ

-สาขาวิชาระบบสารสนเทศทางการจัดการ เรียนสาขานี้จะเรียนเน้นเกี่ยวกับการใช้ระบบข้อมูลต่างๆด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อการจัดการในองค์กร

-สาขาวิชาการจัดการองค์การและทรัพยากรมนุษย์ เรียนสาขานี้จะเรียนเกี่ยวกับการจัดสรร การคัดเลือก และการใช้บุคลากรอย่างเหมาะสมในการทำหน้าที่ต่าง ๆ ของการจัดการและดำเนินธุรกิจให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดีและมีคุณภาพ

-สาขาวิชาการบริหารอุตสาหกรรมเดินทาง   เรียนสาขานี้จะเรียนเน้นหนักเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจต่าง ที่เกี่ยวกับการเดินทาง ได้แก่ อุตสาหกรรมการโรงแรม การเดินทางและการท่องเที่ยว การขนส่ง ตลอดจนธุรกิจอื่นที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและเดินทาง

-สาขาวิชาการจัดการด้านการผลิตและการดำเนินงาน เรียนสาขานี้จะเรียนเน้นหนักเกี่ยวกับการทำหน้าที่ต่างๆทางด้านการผลิต เพื่อให้กิจกรรมและการบริการในด้านนี้ได้ผลตามความต้องการขององค์การธุรกิจ

-สาขาวิชาการจัดการขนส่งระหว่างประเทศ เรียนสาขานี้จะเรียนเน้นหนักเกี่ยวกับภารกิจต่าง ๆ และการจัดการเกี่ยวกับเรื่องการขนส่งสินค้า และการให้บริการขนส่งทั้งภายในและระหว่างประเทศ

-สาขาวิชาการตลาด เรียนสาขานี้จะเรียนเน้นหนักเกี่ยวกับทฤษฎี วิธีการและหน้าที่งานทางการตลาดเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค

-สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ เรียนสาขานี้จะเรียนเน้นหนักเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ เศรษฐกิจระหว่างประเทศ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก

สายงานอาชีพของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

เมื่อศึกษาข้อมูลที่จะเข้าเรียนต่อแล้ว ก็อย่าลืมศึกษาลักษณะงานและสายอาชีพ ที่สามารถทำได้หลังจากเรียนจบด้วยนะคะ การวางแผนอนาคตถือเป็นสิ่งสำคัญ เลือกทำในสิ่งที่เรารักเราจะได้เต็มที่กับมันนะคะ เรามาดูกันดีกว่าว่าเรียนจบ

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีสามารถประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง

เรียนพาณิชยศาสตร์การบัญชี แน่นอนค่ะว่าต้องทำงานเกี่ยวกับการบริหาร และบัญชีแน่นอน อาชีพสำหรับคนเรียนสายนี้ ได้แก่

  • นักบัญชี นักบัญชีจะทำงานเกี่ยวกับการทำบัญชีต่างๆ ภายในองค์กร เช่น บัญชีเงินทุน บัญชีเงินต้น

บัญชีทวงหนี้ เป็นต้น

  • พนักงานบัญชีอยู่ในสำนักงานบัญชี ทำงานดูแลเกี่ยวกับบัญชีต่างๆของบริษัทที่มาจ้าง ซึ่งคนหนึ่งอาจดูแลหลายบริษัท ซึ่งถ้าได้ทำงานตรงนี้ จะทำให้เรามีประสบการณ์และความรู้มากเลยทีเดียว
  • ทำงานรับราชการ สอบเข้ารับราชการตามกระทรวง หรือ สำนักงานตำรวจ และทหารได้ จะมีการเปิดสอบรับผู้ที่เรียนจบสายงานต่างๆเพื่อเข้ารับราชการทุกปี
  • พนักงานธนาคาร เราสามารถสอบแข่งขันเข้าไปทำงานในธนาคารได้ และเมื่อเรามีประสบการณ์การทำงานด้านนี้เยอะ เราก็สามารถเปลี่ยนตำปหน่งงานที่สูงขึ้นได้
  • นักวางแผนระบบบัญชี ทำงานเกี่ยวกับการวางแผนงานงานในระบบับัญชีต่างๆให้สอดคล้องกับความต้องการขององค์กรนั้นๆ
  • ผู้ตรวจสอบบัญชี ตำแหน่งงานนี้ถือเป็นตำแหน่งที่ได้รับความสนใจจากผู้ที่เรียนจบสายบัญชีอย่างมาก เพราะผู้ตรวจสอบบัญชี หรือที่เรียกกันว่า Audit ซึ่งถือว่าเป็นอาชีพอิสระ มีหน้าที่เข้าไปตรวจสอบบัญชีของบริษัทผู้ว่าจ้าง ซึ่งรายได้ตอบแทนค่อนข้างสูง และมีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานมาก
  • เป็นที่ปรึกษาด้านการบัญชี คอยให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าในการทำบัญชี หรือสังกัดอยู่ในบริษัทและองค์กรต่างๆ
  • นักการตลาด และนักลงทุน คอยหาลูกค้าและนำเสนอนวตกรรมหรือสิ่งใหม่ๆให้เป็นที่ยอมรับแก่ผู้ร่วมธุรกิจหรือลูกค้า และนักลงทุนต่างๆ
  • นักธุรกิจ สามารถทำธุรกิจส่วนตัว หรือช่วยงานธุรกิจครอบครัวได้อย่างสบาย เพราะเราเรียนจบมาย่อมมีทั้งความรู้และความสามารถ
  • ทำงานในสังกัดหน่วยงานรํฐวิสาหกิจ หรือ เอกชน สามารถทำในตำแหน่ง งานบุคคล งานการตลาด งานสินเชื่อได้
  • เป็นผู้จัดการในองค์กร หรือตามบริษัทต่างๆ สามารถเข้าไปบริหารงานได้ทั้งบริษัท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์ของเรา
  • ผู้บริหาร สามารถทำงานเป็นผู้บริหารองค์การต่างๆได้
  • เป็นที่ปรึกษาด้านการลงทุน ให้กับองค์กรต่างๆ

นอกจากนี้ยังสามารถเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยได้ด้วย หากเรามีความรู้และความสามารถอนาคตอาจได้เป็น CEO ของบริษัทได้เลยนะคะ จะเลือกเรียนคณะไหน สาขาไหน ขอให้เลือกเรียนตามที่ใจเรารักนะคะ เราจะได้ทำออกมาอย่างเต็มที่ และเต็มความสามารถของเราค่ะ

อยากจะเรียนเศรษฐศาสตร์ ต้องเตรียมตัวอย่างไร

               ในกลุ่มของน้องๆ นักเรียนม.ปลาย ที่ชื่นชอบวิชาสถิติและ แคลคูลัส เป็นชีวิตจิตใจ เชื่อแน่ว่าเวลาจะสอบเข้ามหาวิทยาลัย จะต้องมีเศรษฐศาสตร์อยู่ในใจ แต่ก็ยังมีน้องๆ อีกไม่น้อยที่แม้จะชอบวิชาดังกล่าวแต่ก็ยังไม่รู้ว่า ทำไมควรเรียนเศรษฐศาสตร์ และเรียนแล้วจบไปจะทำงานอะไรได้บ้าง

คณะเศรษฐศาสตร์ เรียนเกี่ยวกับเรื่องอะไร

จริงๆ แล้วคำว่าเศรษฐศาสตร์นั้น คาบเกี่ยวอยู่กับฐานะทางการเงินทั้งระดับจุลภาคและมหภาค ความเป็นอยู่ของทุกคนในประเทศขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจ และคนที่มีความรู้ด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างดีนี่แหละที่ทำหน้าที่คุมบังเหียนเศรษฐกิจของประเทศ แม้ว่าโดยภาพรวมแล้ว คณะเศรษฐศาสตร์นั้นจะไม่ได้เป็นคณะป๊อบปูล่าสำหรับน้องๆ เลยก็ตาม แต่เชื่อว่า หากน้องๆ ได้ศึกษาและมีความสามารถเฉพาะทางเกี่ยวกับตัวเลข การคำนวณ และชื่นชอบการประเมินสถานการณ์โดยอาศัยสถิติตัวเลขแล้วละก็ คณะเศรษฐศาสตร์นั้นเป็นคณะที่สนใจเป็นอย่างมาก

ในด้านการเรียนนั้น ปีแรกก็เป็นการเรียนวิชาพื้นฐานทั่วไป แคลคูลัส สถิติ คณิตศาสตร์ เศรษฐกิจ และอาจเพิ่มเติมด้านการเงิน การตลาด การจัดการ เพื่อเสริมความรู้ด้านเศรษฐกิจ ต่อไปจึงมีการต่อยอดเป็นวิชาเศรษฐศาสตร์เฉพาะสาขาที่น้องๆ เลือกเรียน ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐศาสตร์ ธุรกิจการเกษตร ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

และเพื่อให้น้องๆ ได้ตัดสินใจเพิ่มเติม จะได้แนะนำว่า คนที่จบเศรษฐศาสตร์นั้น จะเป็นคนที่รู้กว้าง ได้ศึกษาด้านการคิด วิเคราะห์ด้านการเงินจุลภาค มหภาค ทำให้ทราบแนวโน้มของเศรษฐกิจระดับชาติ ทำให้รู้จักวิเคราะห์และตัดสินใจลงมือทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองได้ หลายคนที่จบเศรษฐศาสตร์ จะนำความรู้ความสามารถมาประยุกต์ นักเล่นหุ้นจำนวนไม่น้อยที่โลดแล่นในตลาดหลักทรัพย์จบด้านนี้  หรือหากใครชอบงานราชการ ก็สามารถทำงานธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง หรือแม้แต่กรมอุทยานก็ได้ ขึ้นอยู่กับสาขาที่เรียนอีกส่วนหนึ่ง แต่ขอให้เชื่อเถอะว่า ความสามารถในการเป็นนักวิเคราะห์ที่แม่นยำ อย่างใช้สถิติตัวเลข เหตุผล ทำให้เป็นคนมีสติปัญญาสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลายสาขาอาชีพ โดยไม่จำเป็นต้องจำกัดตัวเองอยู่แต่ในแวดวงการเงิน เศรษฐกิจโดยตรงด้วยซ้ำ

อยากเข้าคณะนี้ ต้องสอบอะไรบ้าง

               ในการสอบตรงเข้าคณะเศรษฐศาสตร์ บางสถาบันจะกำหนดเกรดเฉลี่ยด้วย เช่น ธรรมศาสตร์ซึ่งเป็นสถาบันที่มีคณะนี้โดดเด่นกำหนดที่ต้องมีเกรดเฉลี่ยอย่างน้อย  2.75  วิชาที่สอบก็เน้น คณิตศาสตร์ สถิติ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

แต่มีบางที่อาจใช้แคลคูลัสด้วย แต่หลักๆ ก็คือ GAT และ PAT1

จริงๆ แล้วเพื่อช่วยกันพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ อยากชวนน้องๆ ที่เรียนเก่งๆ ให้หันมาเรียนเศรษฐศาสตร์เพิ่มขึ้นอีกสาขา นอกเหนือจาก สาขาการแพทย์ วิศวกร สถาปัตย์ ให้คนรุ่นใหม่มาร่วมพัฒนาประเทศชาติให้สามารถแข่งด้านเศรษฐกิจกับนานาชาติได้

อยากจะเรียนสถาปัตย์ ต้องเตรียมตัวอย่างไร

อาชีพ สถาปนิก เป็นอีกอาชีพในฝันของน้องๆ นักเรียนม.ปลาย การได้ออกแบบและเห็นสิ่งก่อสร้างที่เดินตามแบบของตัวเองคือความภาคภูมิใจถึงขีดสุด ทำให้น้องๆ นักเรียนที่มีใจรักด้านการออกแบบใฝ่ฝันอยากเป็นเจ้าของตึกที่มีดีไซน์สวย หรู เด่น เป็นที่กล่าวขานชื่นชมของคนทั่วไป จะดีมั้ย ถ้าใครๆ ก็แชร์ภาพอาคารที่ออกแบบโดยเราเอง

คณะสถาปัตยกรรม เรียนเกี่ยวกับเรื่องอะไร

               คนที่เหมาะที่จะเรียนสถาปัตยกรรมศาสตร์ ไม่ใช่แค่มีหัวศิลปะ แนวอาร์ทติสต์ อย่างที่น้องๆ ได้เห็นรุ่นพี่สถาปัตย์ที่ออกมาวาดลวดลายอยู่ในวงการบันเทิง พี่ๆ เหล่านั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่เป็นไอดอล อารมณ์ขัน แนวจัดหนัก แต่แท้จริงแล้ว สถาปัตยกรรมศาสตร์ รวมความเป็นวิทย์และศิลป์เข้ามาเป็นหนึ่งเดียว คนช่าง            ครีเอทอย่างเดียว ไม่เพียงพอที่จะรองรับศาสตร์นี้ น้องๆ ที่สนใจต้องทบทวนก่อนว่า มีพื้นฐานความรู้และความชอบที่ตรงวิชาหรือไม่

ที่สำคัญ จะต้องมีความสามารถในการถ่ายทอดจินตนาการออกมาเป็นภาพ ตามทฤษฎีการออกแบบคือได้ทั้งศาสตร์และศิลป์ เพราะเมื่อจบไปทำงานต้องรับภาระชีวิตคนอื่นภายใต้อาคารการออกแบบของตัวเองด้วย

อยากเข้าคณะนี้ ต้องสอบอะไรบ้าง

               แม้ว่าสัดส่วนในการสอบแต่ละวิชาจะแตกต่างกัน แต่ทุกสถาบันก็อยู่ในแนวทางเดียวกันคือ GAT-PAT1-PAT2-PAT4 และบางแห่งกำหนดเกรดขั้นต่ำด้วยว่าต้องเป็น 2.5-3.00 ขึ้นไป

สถาปัตย์ลาดกระบัง 20-20-20-40 และต้องได้เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.5

สถาปัตย์จุฬา 20-20-20-40 และต้องได้เกรด 3.0 ขึ้นไป

ที่เหมือนกันก็คือ ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติมากกว่า

จะสังเกตเห็นว่า การสอบเข้าสถาปัตย์นั้น วิชาพื้นฐาน ไม่ค่อยเน้นมากเท่าไหร่ คือ คณิต ฟิสิกส์ อังกฤษ แต่ก็กำหนดมาตรฐานคุณภาพผู้เรียนเอาไว้สูงว่า ต้องเป็นคนที่มีความตั้งใจจริงใส่ใจในการเรียนอย่างสม่ำเสมอ จนทำให้มีผลการเรียนอยู่ในระดับปานกลางจนถึงดี ขึ้นอยู่กับสถาบันที่ต้องการเน้นขนาดไหน แต่วิชาที่สำคัญของสาขานี้ก็คือ PAT4 การออกแบบสถาปัตย์ ซึ่งวิชานี้ต้องมีพื้นฐานทางคณิตสูงทีเดียว จึงได้กล่าวว่า คนที่มีพื้นฐานศาสตร์และศิลป์มารวมกันได้อย่างลงตัวเป็นคนที่เหมาะจะเรียน และเป็นคณะที่มีการสอบทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ

  1. ภาคทฤษฏี
    1.1 ความรู้ทั่วไปทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบ สไตล์เดียวกับ PAT4 แต่ยากกว่า ผู้สอบต้องมีความรู้ด้านสถาปัตยกรรมไทยและตะวันตก อีกทั้งต้องมีความรู้ทั่วไปเรื่องการออกแบบ
    1.2ความรู้ทางคณิตศาสต์+ฟิสิกส์
  2. ภาคปฎิบัติ จะมีโจทย์ให้ผู้เข้าสอบได้แสดงความสามารถเรื่องการออกแบบ เป็นการทดสอบว่ามีความรู้ ความถนัดเพียงพอที่จะเข้าไปเรียนสถาปัตยกรรมหรือไม่นั่นเอง
                   ผู้ที่สนใจจะสอบเข้าสถาปัตย์จริงๆ จึงจำเป็นต้องฝึกฝนทั้งทฤษฎีและปฏิบัติให้พร้อม

อยากจะเป็นวิศวกร ต้องเตรียมตัวอย่างไร

สำหรับเด็กผู้ชายแล้ว เชื่อว่า อาชีพวิศวกร จะเป็นอาชีพต้นๆ ที่อยู่ในความสนใจ ด้วยภาพลักษณ์ที่ดูแมนๆ ของอาชีพรวมถึงคำร่ำลือว่า เป็นอีกอาชีพทำเงินในสังคมบ้านเรา ทั้งที่บางครั้ง น้องๆ อาจยังไม่ทราบด้วยซ้ำไปว่า แท้จริงแล้ววิศวกรนั้นมีมากกว่าความเป็นอาชีพของผู้ชายที่ดูดี ในเมื่อได้รับค่านิยมจนกลายเป็นอาชีพในฝัน และกำลังจะทำให้มันเป็นความจริงในอนาคตหลังจากจบม.ปลาย เราก็ควรจะมาทำความรู้จักให้ดียิ่งขึ้น เพื่อจะได้เตรียมตัวให้พร้อมในการเข้าเรียนเพื่อจบมาเป็นวิศวกรตามฝันของตัวเอง

คณะวิศวกรรมศาสตร์ เรียนเกี่ยวกับเรื่องอะไร

สำหรับคนที่อยากเรียนวิศวะแล้ว วิชาพื้นฐานหลักๆ ที่ต้องเก่งก็คือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ต้องมีทักษะแนวคิดแบบตรรกะ มีความมุ่งมั่นพยายามในการศึกษาวิชาเหล่านี้ให้ดี เมื่อเข้าไปเรียนวิศวะแล้วมีการเลือกสาขาวิชาต่างๆ ตั้งแต่วิศวะไฟฟ้า เครื่องกล โยธา คอมพิวเตอร์ วิศวะการแพทย์ อุตสาหการ ปิโตรเคมี ปิโตรเลียม สิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ต้องดูความชอบเฉพาะทาง ต้องถนัดจึงจะเรียนสนุก และมีตลาดพร้อมที่จะให้เข้าไปทำงานด้วยอัตราเงินเดือนที่สูง

คนจะเรียนสายวิศวะให้ได้ดี ต้องเป็นคนที่รู้จักบริหารอย่างเป็นระบบ มีวิธีคิดวางแผน ประยุกต์อยู่พอตัว ซึ่งในการเรียนนั้น หากไม่ได้เก่งขั้นเทพ ควรเลือกในสายงานที่เป็นกลางๆ เพื่อใช้ความรู้ด้านวิศวะที่เรียนเป็นพื้นฐานเพื่อเลือกงานได้มากขึ้น และวิศวะบางสายงาน นอกจากเด่นวิศวะแล้ว จะต้องมีความรู้ภาษาอังกฤษดี อีกด้วย

แต่โดยรวมแล้ว วิศวกรรมศาสตร์ก็เหมือนวิชาการด้านอื่นคือ ต้องเรียนให้มีความรู้ความสามารถที่เข้าถึงวิชา สามารถนำวิชาการที่เรียนมาประยุกต์ใช้ได้ ทั้งนี้ การเลือกสถาบันการศึกษาก็มีความจำเป็นเช่นกัน เพราะแต่ละแห่งก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกัน และต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า ในวงการการทำงานนั้น การเป็นพี่น้องร่วมสถาบันก็มีส่วนสนับสนุนส่งเสริมกัน

อยากเข้าคณะนี้ ต้องสอบอะไรบ้าง

พื้นฐานวิชาที่ใช้ในการสอบเข้า ใช้คะแนน GAT PAT1 และ PAT3 ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยต้องการสัดส่วนคะแนนแต่ละอย่างแตกต่างกันไป จึงต้องศึกษารายละเอียดเฉพาะลงไป

เช่น วิศวะ จุฬา ต้องการคะแนน GAT 20%, PAT1 20%, PAT 3 60%

ถ้าอยากสอบเข้าให้ได้ ก็ต้องมีความตั้งใจและฝึกฝน โดยเฉพาะเทคนิคในการทำข้อสอบแต่ละส่วน

  1. GAT ทั้ง GAT1 , GAT 2 น้องๆ จะต้องมีการฝึกทำโจทย์ เพื่อความเข้าใจอย่างรอบคอบ
  2. PAT1 จำสูตรและฝึกทำโจทย์เยอะๆ เข้าไว้
  3. PAT3 เน้นฟิสิกส์ คณิตเรื่องอนุกรม ตรีโกณ ตรรกศาสตร์ เคมี เน้นโพลีเมอร์ ฯลฯ

ให้ตระหนักว่า คณะที่ป๊อปปูล่า เราชอบคนอื่นก็ชอบเหมือนกัน

อยากจะเป็นคุณครู ต้องเรียนอะไรบ้างในรั้วมหาวิทยาลัย

อาชีพหนึ่งที่ถือว่าเป็นตัวเลือกของน้องๆหลายคนตอนเข้ามหาวิทยาลัยก็คือ คุณครู วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกันสักหน่อยว่าหากเราอยากเป็นคุณครูเนี่ย เราต้องเลือกสาขาวิชาไหน สอบเข้าอย่างไร และสาขาวิชานี้ต้องเรียนเกี่ยวกับอะไรกันบ้าง ถ้าพร้อมแล้วก็เริ่มกันเลย

คณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ เรียนเกี่ยวกับเรื่องอะไร

ทั้งสองคณะนี่ หากไม่นับวิชาทั่วไป วิชาพื้นฐานแล้ว วิชาเอกส่วนใหญ่จะแบ่งออกเป็นสามส่วนคือ หนึ่งวิชาที่เกี่ยวข้องกับเด็ก เช่น จิตวิทยาของเด็ก พัฒนาการของเด็กในวัยต่างๆ เพื่อให้เรียนรู้และเข้าใจถึงพฤติกรรมของเด็กที่เราจะเจอในการลงไปสอนจริงรวมถึงสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ สองวิชาที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสอนต่าง เช่น วิชาการสอนในรูปแบบต่างๆ วิชาการวัดและประเมินผล วิชาจรรยาบรรณวิชาชีพครู กฏหมายครู การทำสื่อการเรียนการสอน หลักสูตรแกนกลาง เป็นต้น สามวิชาความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่สอน กลุ่มนี้จะแยกไปตามสาขาที่ตัวเองสังกัดอยู่ เพื่อเรียนรู้ให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งในสิ่งที่เราจะไปถ่ายทอดให้เด็กต่อไป รวมถึงมีทักษะในวิชาความรู้นั้นด้วย เช่น หากเราต้องการเลือกภาษาอังกฤษ ตรงนี้ก็จะต้องเรียนเกี่ยวกับภาษาอังกฤษให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน ต้องมีทักษะเรื่องนั้นๆด้วย เพราะมันคงดูแปลกที่เราจะไปเป็นครูสอนภาษาอังกฤษแต่ว่าพูดอังกฤษไม่ได้เลย ซึ่งโดยทั่วไปแล้ววิชาเหล่านี้บางครั้งเราจะได้ไปเรียนรวมกลุ่มกับนักศึกษาของเอกนั้นโดยตรงเลย (ข้อดีคือได้เพื่อนใหม่ต่างคณะ แต่ข้อเสียคือบางครั้งต้องไปตัดเกรดรวมกับเค้าก็ไม่ง่ายเลย)

อยากเข้าคณะนี้ ต้องสอบอะไรบ้าง

การสอบเข้าคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์นั้น รอบแอดมิชชั่นของปี 2559 ยังไม่ประกาศอย่างเป็นทางการนะว่าใช้วิชาไหนอะไรอย่างไรบ้าง แต่คิดว่าคงไม่เปลี่ยนไปจากของปี 2558 เท่าไรนัก งั้นเรามาดูกันที่ปี 2558 กันก่อนล่ะกันซึ่งสาขาวิชานี้มีอยู่สอง สูตรด้วยกันคือ

  1. GPAX 20% + O-NET 30% + GAT 20% + PAT 5 30% = 100%
  2. GPAX 20% + O-NET 30% + GAT 10 + PAT 20% + PAT(1,2,3,4,6,7)เลือกมา 1 วิชา 20% = 100%

จะเห็นว่าทั้งสองสูตรจะต่างกันตรงที่คะแนนของ GAT ที่ไม่เท่ากัน และ PAT ที่สูตรแรกจะเอาเฉพาะ PAT 5 แต่สูตรสองจะเลือกได้หลาย PAT เลย (ซึ่งขึ้นอยู่กับสาขาวิชาเอกที่เราเลือกด้วยว่าเค้าต้องการตัวไหนหรือเปล่า)

ส่วนการสอบรอบโควตา รอบรับตรงนั้น อันนี้ต้องรอประกาศจากทางมหาวิทยาลัยที่เราต้องการก่อนว่าเค้าต้องการแบบไหนกันบ้าง เอาเป็นว่าตอนนี้ก่อนจะไปดูว่าสอบอะไรบ้าง อยากจะให้เราถามใจตัวเองอีกสักครั้งหนึ่งว่า เราอยากเป็นครูจริงไหม ชอบหรือเปล่า ถ้าชอบก็ลุยเลย ถ้าไม่ชอบก็ผ่าน หรือยังตัดสินใจไม่ได้ ก็ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนแต่ต้องรีบแล้ว

เรียนครูจบแล้วไปทำอาชีพอะไรดี

การเลือกคณะที่จะเข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัยนั้น บางคนอาจจะมองในเรื่องของสาขาวิชาที่ตนเองชอบหรือสนใจ บางคนอาจจะมองถึงอาชีพที่ต้องการในอนาคต การเรียนครูเองก็เหมือนกัน ข้อดีของการเรียนสาขาวิชานี้คือ ความชัดเจนในเรื่องของอาชีพที่ส่วนใหญ่มุ่งเป้าไปที่การเป็นครูไว้ก่อน แต่เอาเข้าจริงเรารู้จักเส้นทางการเป็นครูดีแล้วหรือยัง

อาชีพครู จุดหมายแรกเหมือนง่ายแต่ไม่ง่าย

อย่างที่เกริ่นไปแล้วว่า คณะศึกษาศาสตร์ / ครุศาสตร์นั้น เป็นคณะที่มีความชัดเจนเรื่องของอาชีพมากนั่นก็คือการออกไปเป็นครูสอนนักเรียนในระดับหรือสาขาวิชาต่างๆ แต่การจะเป็นครูได้นั้น ขอแบ่งออกเป็นสามกลุ่มดังนี้

  1. การเข้ารับการสอบบรรจุครู

กลุ่มแรกที่เราขอพูดถึงก่อนเลยนั่นก็คือ การเข้ารับราชการบรรจุแต่งตั้งเป็นครู แน่นอนว่าการเดินทางมาในสายนี้นั้น ต้องบอกเลยว่าต้องมาพร้อมกับความอดทนและตั้งใจอ่านหนังสือให้มาก เพราะการสอบแต่ละครั้งมีผู้แข่งขันเยอะมาก อย่างต่ำๆอัตราก็จะอยู่ที่ 1:200 เป็นอย่างน้อย ซึ่งการสอบบรรจุนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการและรายละเอียดตลอดเวลา ดังนั้นต้องติดตามข่าวสารให้ดี และอ่านหนังสือเป็นประจำ

  1. อัตรจ้าง ตามโรงเรียนของรัฐ

หากเรายังไม่สามารถบรรจุได้ การมองหาตำแหน่งอัตราจ้าง หรือ พนักงานของรัฐที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษาก็ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพราะการได้อยู่โรงเรียนของรัฐจะทำให้เรารู้ข่าวสารความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการสอบอยู่เป็นประจำ แล้วยังซึมซับข้อมูลที่อาจจะออกสอบได้ด้วย หรือถ้าโอกาสดีอาจจะได้เป็นข้าราชการครูด้วยการสอบภายในพื้นที่ก็ได้เหมือนกัน

  1. การเป็นครูเอกชน

กลุ่มที่สอง คือทางเลือกที่คนจบใหม่ส่วนใหญ่ที่ยังไม่สามารถสอบบรรจุได้ จะเลือกกัน นั่นก็คือ การเลือกเป็นครูเอกชนตามโรงเรียนต่างๆ ซึ่งการเลือกวิธีนี้ข้อดีคือ เราจะได้ตรวจสอบตัวเองหลังจากเรียนจบว่า เราต้องการใช้ชีวิตกับอาชีพนี้จริงๆไหม สองการได้เกี่ยวข้องกับครูจะได้ซึมซับการสอน วิธีการปฏิบัติงาน และความรู้ไปพร้อมกันด้วย แต่ข้อเสียคือ หากเป็นครูเอกชนไปแล้วอาจจะมีเงื่อนไขบางประการเพื่อกันไม่ให้เราไปสอบบรรจุได้ เช่น การยึดเงินประกัน เป็นต้น

วิชาเอก เป็นตัวนำอาชีพ ทางเลือกที่น่าสนใจ

แต่ถ้าเราเรียนจบแล้วถามตัวเองว่าชอบไหม แล้วไม่ชอบเป็นครู ยังไม่ต้องการ การเบนเข็มไปยังอาชีพอื่นก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ โดยทางเลือกที่เราน่าจะเบนเข็มไปได้ก็คือ การเอาวิชาเอก วิชาโท ความถนัด หรือ ความชอบมาเป็นตัวนำในการเลือกอาชีพ เช่น หากเราเป็นเอกพลศึกษา ก็อาจจะเบนเข็มไปเป็นเทรนเนอร์ฟิตเนสก็ได้ หรือใครชอบดนตรี ก็อาจจะไปทำวงดนตรี เอกคอมพิวเตอร์อาจจะไปเปิดร้านคอม ร้านซ่อมคอมก็ได้

ประสบการณ์ที่จะได้รับในการเรียนสาขาวิชานี้

การเรียนในระดับอุดมศึกษาแน่นอนว่านอกจากจะหนักในเรื่องของวิชาการและทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับสาขาและวิชาชีพที่เรียนแล้ว ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพที่เราเรียนนั้นก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญอีกด้วย ยิ่งเป็นวิชาชีพด้วยแล้วประสบการณ์ในสนามจริงหรือการเรียนภาคปฏิบัติถือว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งทีเดียว หากเราเรียนคณะครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์จะมีประสบการณ์อะไรให้เราได้สัมผัสกันบ้าง

ประสบการณ์เกี่ยวกับเด็ก

ประสบการณ์อย่างแรกที่เราจะต้องเจออย่างแน่นอนหากเราเข้าไปเรียนคณะศึกษาศาสตร์หรือครุศาสตร์ นั้นก็คือประสบการณ์เกี่ยวกับเด็กในรูปแบบต่างๆ ซึ่งอาจจะออกมาในรูปของการออกไปสังเกตุการณ์สอน การทดลองสอนระยะสั้น การทำกิจกรรมกับนักเรียนในวันต่างๆ หรือ การออกไปฝึกประสบการณ์การสอนจริง ซึ่งเด็กที่เราจะต้องเจอนั้น หากดูจากระดับชั้นก็จะเป็นระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาเป็นหลัก นอกจากว่าเราจะเรียนสาขาวิชาเอกที่มีความพิเศษ อย่างเช่น สาขาปฐมวัย ก็จะได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับเด็กอนุบาลเยอะหน่อย หรือ สาขาการศึกษาพิเศษ ก็จะเป็นนักเรียนที่มีความบกพร่องในด้านต่างๆ เช่น การเป็นเด็กพิเศษด้านพฤติกรรม การเรียนรู้ หูหนวก ตาบอด หรือ แขนขาไม่พร้อม เป็นต้น ซึ่งประสบการณ์เกี่ยวกับเด็กในการออกไปฝึกสอนหรือออกไปทำกิจกรรมนั้นจะทำให้เราสามารถเอามาเป็นบทเรียนในการแก้ปัญหาเวลาเป็นครูจริงๆได้

ประสบการณ์ในวิชาเอก

ประสบการณ์กลุ่มต่อไปที่เราจะต้องเก็บเกี่ยวให้ดีก็คือ ประสบการณ์ที่เกี่ยวกับวิชาเอก หรือ วิชาโทที่เรียนเพิ่มเติม ประสบการณ์วิชาเอกนี้ ไม่ได้หมายถึงเรื่องของ วิชาการอย่างเดียว แต่ยังหมายถึงกิจกรรมการฝึกทักษะที่เกี่ยวข้อง หรือ เสริมความรู้เกี่ยวกับวิชาเอกด้วย ยกตัวอย่างเช่น หากเราเรียนภาษาอังกฤษ นอกจากทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียนแล้ว เราอาจจะต้องฝึกประสบการณ์การเล่นเกมต่อคำ(Crossword) ไว้บ้าง เพื่อเอาไปสอนนักเรียน หรือ สาขาวิทยาศาสตร์อาจจะต้องฝึกกิจกรรมเกี่ยวกับการทดลอง หรือ ของเล่นทางวิทยาศาสตร์ไว้ด้วย ซึ่งของอย่างนี้จะช่วยเสริมเสน่ห์ให้กับการเป็นครูของเราได้อีกเยอะเลย เนื่องจากครูเดี๋ยวนี้ไม่ได้สอนหนังสืออย่างเดียวแล้ว การพานักเรียนฝึกกิจกรรมเสริมก็เป็นเรื่องสำคัญเหมือนกัน

ประสบการณ์ในการสอน

ประสบการณ์ส่วนสุดท้ายที่จะนำเอาทั้งสองอย่างไปใช้ในสนามจริงก็คือ ประสบการณ์การสอนจริงช่วงปีสุดท้าย โดยเราจะได้ประสบการณ์จริงตั้งแต่การเตรียมการสอน การจัดการเรียนการสอน การจูงใจนักเรียน การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า การวัดและประเมินผล การทำเอกสาร และอื่น รวมถึงการใช้ชีวิตของการเป็นครูจริงๆว่าเป็นอย่างไร ชอบหรือไม่ ขอรับประกันเลยว่าประสบการณ์ออกไปฝึกสอน ตลอด 1 ปี ที่จะต้องเต็มไปด้วยความสนุกสนาน เครียด และเหนื่อยปะปนกันไป แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร จะทำให้เราประทับใจไม่รู้ลืมอย่างแน่นอน

 

ครูต้นคูน ไทย-สังคม พิชิต – 9วิชาสามัญ O-net สอบตรงมหาลัยต่างๆ เนื้อหาครบกระบวนท่า คอร์สพื้นฐาน ตะลุยโจทย์ 36 ชั่วโมง (ออนไลน์) โดย ครูต้นคูน มีสักกี่คนที่ จะจบ ป ตรี ตอนอายุ 18 ออกรายการแฟนพันธุ์แท้ สามก๊ก วู๊ดดี้เกิดมาคุย พิธีกร ประจำของคณะเภสัช จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย เฮ้ยย สอนสดเต็มทุกคลาส

 

14117726_1847572522137564_4205910681615908597_nสอนโดย ต้นคูน – ณัฐพงศ์ ลาภบุญทรัพย์

มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
ปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาเอกประวัติศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยว
สาขาวิชาโทภาษาไทย เกียรตินิยมอันดับหนึ่งเหรียญทอง
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง

ปริญญาโท นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (ระดับคะแนนเฉลี่ย 4.00)

ปัจจุบัน นิสิตชั้นปีที่ 5 สาขาวิชาเภสัชกรรมอุตสาหการ
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เกียรติประวัติ (2553 – 2554)
 รางวัลชนะเลิศประวัติศาสตร์เพชรยอดมงกุฎ ช่วงชั้นที่ 4 ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ประจาปีการศึกษา 2554
 รางวัลชนะเลิศการตอบปัญหารัฐศาสตร์ จัดโดยคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
 รางวัลชนะเลิศการตอบปัญหาพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง จัดโดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง กรุงเทพมหานคร
ประสบการณ์ทางาน (2555 – ปัจจุบัน)
 ติวเตอร์วิชาภาษาไทยและสังคมศึกษาฯ สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย
 วิทยากรบรรยายในสถานศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศ
 พิธีกรประจากิจกรรมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างปีการศึกษา 2557 – 2558

14063893_1847572515470898_4431929189102838817_n

ขั้นตอนการสั่งซื้อ
1. โอนเงินผ่านทางธนาคารมาที่
นาย สมประสงค์ จุฑาเวฬุ
ธนาคาร ไทยพาณิชย์ สาขาเซ็นทรัล พระราม 2
156-267182-2

2. ส่งหลักฐานการชำระเงินเข้ามาที่  https://www.facebook.com/messages/coursebuster เข้ามาได้เลย

3. แจ้ง ชื่อ นามสกุล Email เบอร์โทรติดต่อกลับ

4. สามารถเข้าดูได้เลยตามลิงค์ข้างล่างนี้เลย

คอร์ส Updated!!!! อาทิตย์ต่ออาทิตย์เลยจร้าาาาาา

Day 1

Day 2

Day 3

Day 4

Day 5

Day 6

Day 7

Day 8